วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่5 การตั้งค่าไบออส

การตั้งค่าไบออส

     ไบออส คือเฟิร์มแวร์ที่บบรรจุอยู่ในรอม (แฟลขรอม) ที่ทำหน้าที่การตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ ซึ้งหากไม่มีอะไรผิดปกติ ก็จะเข้าสู้การโหลดระบบปฏิบัติการจากดิสก์มาเก็บไว้หน่วยความจำเพื่อเตรียมความพร้อมในการโต้ตอบใช้งานกับผู้ใช้ แต่ถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น โปรแกรมไบออสจะรายงานแจ้งข้อผิดพลาดให้กับผู้ใช้ใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การส่งรหัสเสียงร้องดังบี๊ป กับการแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบบนหน้าจอ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไบออส


          CMOS  (ซีมอส) เป็นชิปหน่วยความจำประเภทหนึ่ง นำมาใช้จัดเก็บข้อมูลเริ่มต้นและค่าต่างๆ ในไบออส โดยจะมีแบตเตอรี่คอยจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ค่าติดตั้งเหล่านั้นยังคงอยู่ ไม่สูญหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ CMOS

          หน้าที่หลักของไบออส
          1. ตรวจสอบอุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์
          2. ตั้งค่าสถานะให้กับอุปกรณ์
          3. สรุปรายงานและชนิดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ตรวจสอบพบ ด้วยการแสดงออกทางหน้าจอ
          4. เรียกใช้งานโปรแกรมระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เพื่อโหลดเข้าไปยังหน่วยความจำหลัก

          จุดประสงค์ของการปรับตั้งค่าในไบออส
          1. เพื่อปรับแต่งระบบต่างๆ ให้ตรงตามที่ต้องการ
          2. เพื่อตั้งค่าสถานะอุปกรณ์ต่างๆ
          3. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการทำงานของเครื่องเร็วขึ้น
          4. เพื่ออัปเดตเฟิร์มแวร์ ในกรณีโปรแกรมในไบออสรวน หรือเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ

         การโอเวอร์คล็อกซีพียู เป็นการรีดปีะสิทธิภาพซีพียูตัวที่ใช้งานอยู่เดิมให้มีขีดความสามารถในการประมวลผลสูงขึ้น ในการพิจารณาว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานสามารถโอเวอร์คล็อกหรือได้หรือไม่นั้น จำเป็นต้องดูที่ซีพียูและเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ ว่าสนับสนุนการโอเวอร์คล็อกหรือไม่

บทที่ 4 การติดตั้งระบบปฎิบัติการ ไดร์เวอร์ และโปรแกรมประยุกต์

บทที่4 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ เเละ โปรเเกรมประยุกต์

การติดตั้งระบบปฎิบัติการ ไดร์เวอร์ และโปรแกรมประยุกต์

ระบบปฏิบัติการ windows 8.1 มีอยู่ 5 เวอร์ชั่นด้วยกัน คือ
 
1.windows 8.1 for emerging markets
2.windows  RT 8.1
3.windows 8.1
4.windows 8.1 Pro
5.windows 8.1 Enterprise

                              
     ไมโครซอฟต์ ได้จัดเตรียมระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต และ 64 บิตให้เลือกใช้ เช่น windows 8.1 pro 32/64 บิต โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันล้วนถูกออกแบบมาให้รองรับสถาปัตยกรรมแบบ 64 บิต อยู่แล้ว ก็เหลือเพียงแต่เครื่องรุ่นเก่าๆเท่านั้น ที่ยังใช้สภาปัตยกรรมแบบเดิมซึ่งยังเป็นแบบ 32 บิต

      ระบบปฏิบัติการ 64 บิตจะทำงานได้เร็วกว่าระบบ 32 บิต และยังสามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นระบบ 32 บิตได้ ขณะที่ระบบ 32 บิตจะไม่สามารถใช้แอปพลิเคชั่นที่ออกแบบสำหรับระบบ 64 บิต
      ระบบปฏิบัติการแบบ 64 บิต มีขีดความสามารถในการรองรับรับขนาดหน่อยความจำได้สูงสุดถึง 512 GB ในขณะที่ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต รองรับได้ไม่เกิน 4 GB
      ไดรเวอร์ คือโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการสื่อสารอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ กล่าวคือ ไดรเวอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการ เพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถสื่อสารและรู้วิธีจัดการและควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้น

      เมื่อมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้ว จึงสามารถติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ๆด้ตามต้องการ

บทที่3 การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์

          คู่มือการใช้งาน เป็นเอกสารที่ผู้ผลิตแนบมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ เช่น คู่มือ เมนบอร์ด และ คู่มือซีพียู โดยก่อนลงมือประกอบเครื่องทุกครั้ง ควรอ่านและทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำต่างๆ ในคู่มือให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่งภายในคู่มือนอกจากจะอธิบายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รุ่นนั้น แล้ว ยังระบุถึงวิธีการตั้งค่า การติดตั้งอุปกรณ์อย่างถูกวิธีข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่างๆ

     ขั้นตอนการประกอบเครื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 11 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

       1.เตรียมเคสคอมพิวเตอร์




       2.ติดตั้งซีพียู



       3.ติดตั้งแผงหน่วยความจำ


       4.ติดตั้งเมนบอร์ดลงในเคส


       5.เชื่อมต่อปลั๊กและสวิตช์ต่างๆ


       6.ติดตั้งฮาร์ดดิสก์



       7.ติดตั้งเครื่องขับดีวีดี


       8.ติดตั้งเครื่องอ่านการ์ดหน่วยความจำ (ถ้ามี)

       9.ติดตั้งอะแดปเตอร์การ์ด (ถ้ามี)

       10.ปิดฝาเคส

       11.ทดสอบการใช้งาน


     เนื่องจากการประกอบเครื่องเป็นการดำเนินกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ในระหว่างการดำเนินงานควรเรียนรู้ การป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ในระหว่างการประกอบเครื่องได้แก่

     1. ไฟฟ้าสถิต อาจส่งผลการเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนั้น ในระหว่างการประกอบเครื่อง การได้นำอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ชุดสายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตหรือถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิตมาใช้ ถือเป็นการป้องกันที่ดี

     2. ในการประกอบเครื่องและการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีความแข็ง มีน้ำหนัก และมีความคม ดังนั้น ในระหว่างการติดตั้ง ต้องระมัดระวังในเรื่องการครูด หรือการกระแทกบนอุปกรณ์บนเมนบอร์ดอย่างแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อลายวงจรเมนบอร์ดได้

     3. การยึดแผงเมนบอร์ดเข้ากับตัวถังเครื่อง ควรขันสกรูให้พอรู้สึกตึงมือ ไม่ควรขันแน่นจนเกินไป


     4. สายสัญญาณ สายไฟ และขั้วต่อปลั๊กไฟต่างๆ ภายในเคส จะต้องถูกรวบและรัดให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันการเข้าไปขัดกับใบพัดของพัดลม และบดบังทิศทางการระบายอากาศ

     5. ระวังอย่าให้มีเศษวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า หล่นอยู่บนเมนบอร์ดในขณะประกอบเครื่อง

บทที่2 การเลือกใช้อุปกรณ์และการจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามลักษณะงาน

บทที่ 2  การเลือกใช้อุปกรณ์และการจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามลักษณะงาน
  
          เมนบอร์ด เป็นศูนย์รวมของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องนำมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอันได้แก่ซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ และอินเฟชต่างๆ เมนบอร์ดมีหลายรูปแบบตาม Form Factor ต่างๆ เช่น ATX, mATX และ iTX นอกจากนี้ยังมีรุ่นสำหรับใช้งานทั่วไป รุ่นสำหรับโอเวอร์คล็อก และรุ่นสำหรับการเล่นเกม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมนบอร์ด
 
         ชิปเซต เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้สำหรับกำหนดสถาปัตยกรรมของเมนบอร์ด ทำหน้าที่กำหนดคุณสมบัติของเมนบอร์ดเกือบทั้งหมด การทำงานของซีพียูจะมีประสิทธิภาพสูงได้จำเป็นต้องพึ่งพาการทำงานของชิปเซตที่มีประสิทธิภาพด้วย



          ซีพียู คือหน่วยประมวลผลกลาง สำหรับซีพียูที่ใช้งานบนเครื่องซีพีทั่วไป ก็จะมีทั้งจากค่าย Intel และ AMD สำหรับเทคโนโลยีซีพียูในยุคนี้ จะเป็นซีพียูหลายแกน (Multi-Core CRU) ที่ภายในบันจุแกนสมองมากกว่าหนึ่งแกน เพื่อคอยช่วยงานประมวนผล



          หน่วยความจำหลัก หรือแรม ใช้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลชั่วคราว เพื่อส่งข้อมูลไปยังซีพียูประมวนผล สำหรับแรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ DDR3
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยความจำหลัก


          ฮาร์ดดิสก์ คือหน่วยความจำสำรอง นำมาใช้จัดเก็บโปรแกรมและข้อมูล โดยปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งแบบจานหมุนและ SSD (Solid State Drive)



          เครื่องขับออปติคัล ในปัจจุบันควรเลือกใช้เครื่องขับแผ่นดีวีดี (DVD-RW Drive) เป็นอย่างต่ำ ที่ได้รวมความสามารถต่างๆ ในการจัดการกับแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี



          คีย์บอร์ดและเมาส์ เป็นอุปกรณ์พื้อฐานสำหรับป้อนข้อมูลนำเข้า โดยคีย์บอร์ดจะใช้สำหหรับป้อนข้อมูลต่างๆ ส่วนเมาส์จะใช้ชี้ตำแหน่งและคลิกเพื่อเลือกวัตถุหรือสั่งรันโปรแกรม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คีย์บอร์ดและเมาส์

          จอภาพคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานในปัจจุบัน ล้วนเป็นจอภาพแบบ LCD ที่ใช้หลอด LED เป็นอุปกรณ์ส่องสว่างจากด้านหลัง (Backlight) แทนหลอดฟลูออเรสเซ็นต์แบบเดิม ทำให้จอภาพสามารถส่องความสว่างได้มากกว่า น้ำหนักเบา ต้นถุนถูกลง และประหยัดพลังงานมากกว่า
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จอภาพคอมพิวเตอร์


          การ์ดจอภาพ ปกติมักจะออนบอร์ดมาให้พร้อมบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ซึ้งจะใช้งานควบคู่กับซีพียูที่มี GPU บรรจุอยู่ภายใน อย่างไรก็ตาม หากต้องการแสดงผลภาพที่มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ก็สามารถใช้การ์ดจอแยก ซึ้งมีทั้งการ์ดจอสำหรับเล่นเกม และการ์ดจอสำหรับงานประมวลผลการฟิกโดยเฉพาะ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ดจอภาพ


          การ์ดเสียง เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเสียง  ซึ่งเมนบอร์ดทั่วไปมักออนบอร์ดพอร์ตออดิโอมาให้อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการพลังเสียงที่มีคุณภาพ ก็สามารถใช้การ์ดเสียงระดับไฮเอนด์ก็ได้ ซึ่งเหมาะกับงานสตูดิโอ หรือเล่นเกม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ดเสียง
          การ์ดเครือข่าย หรือพอร์ต LAN ซึ่งมักออนบอร์ดมาให้อยู่แล้วบนเมนบอร์ด นำไปใช้เชื่อมต่อเครือข่าย สำหรับกรณีต้องการใช้การ์ดเครือข่ายแบบไร้สาย ก้สามารถติดตั้งเพิ่มเติมผ่านสล็ตขยายได้



          ลำโพง เป็นอุปกรณ์เอาท์พุตที่ใช้ควบคุมการ์ดเสียง สำหรับลำโพงพื้นฐานที่วไปสามารถใช้ไฟเลี้ยงผ่านพอร์ต USB แต่ถ้าใช้ลำโพงชุดใหญ่ที่มีพลังขับสูง มีซัปวูฟเฟอร์ขับเสียงทุ้ม หรือเป็นลำโพงแบบหลายแชนแนล จะต้องใช้ไฟต่างหาก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลำโพง

          เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลในรุปแบบ Hard Copy ปัจจุบันมีหลายประเภทให้เลือกใช้ เช่น เครื่องพิมพ์แบบดอทเเมทริกซ์, เลเซอร์ และอิงค์เจ็ต
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องพิมพ์

          สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์อินพิตที่นิยมใช้สำหรับการสแกนเอกสารเพื่อจัดเก็บเป็นไฟล์ดิจิตอล


          เครื่องมัลติฟังก์ชัน เป็นอุปกรณ์ทั้งอินพุตและเอาท์พุต โดยเป็นเครื่องที่ผนวกอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งชิ้น ซึ่งโดยมักจะเป็นเครื่องพิมพ์และสแกนเนอร์ภายในตัว หรือบางรุ่นอาจผนวกเครื่องโทรสารมาให้ด้วย


          เพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรคัดเลือกยี่ห้อที่น่าเชื่อถื มีคุณภาพ และกำลังวัตต์เต็ม ทั้งนี้หากคุณภาพของซัพพลายไม่ดี จะจ่ายไฟไม่นิ่ง ส่งผลต่ออุปกรณ์สั้นลง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เพาเวอร์ซัพพลาย

          UPS เป็นอุปกรณ์สำรองไฟกรณีไฟดับ เพื่อให้เราสามารถสั่งบันทึกไฟล์ได้หากเกิดไฟดับขึ้นมา เครื่อง UPS ที่ดี นอกจากสำรองไฟได้แล้ว ควรมีระบบปรับแรงดัน เพื่อป้องกันไฟตก หรือไฟเกิน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ UPS

          การจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามลักษณะงาน สามารถแบ่งประเภทออกเป็นชุดคอมพิวเตอร์ต่างๆ ดังนี้
          1. ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไป
          2. ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับงานสำนักงาน
          3. ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับโปรแกรมกราฟฟิกและงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
          4. ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผลกราฟฟิกขั้นสูง

          5. ชุดคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม 



บทที่ 1ไมโครคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์พกพา

ไมโครคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์พกพา (Microcomputer)
          ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่ายอาจ จะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop หรือ Desktop Computer  เป็น คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ งานบนโต๊ะ ที่ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานทั่วไป มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแป้นพิมพ์ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล( PC Computer  เป็น ต้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีการผลิตที่เน้นให้มีความสวยงาม น่าใช้มากยิ่งขึ้น และได้รับความนิยมในการใช้งานมาก เนื่องจากราคาไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แบบอื่นๆ
  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: laptop computer) หรือเรียกย่อว่า แล็ปท็อป (นิยมอ่านในภาษาไทยว่า แหล็ป-ท็อป) หรือ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก สามารถขนย้ายหรือพกพาได้สะดวก โดยปกติจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1-3 กก. การทำงานของแล็ปท็อปจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงจากการเสียบปลั๊กไฟ ประสิทธิภาพของแล็ปท็อปโดยทั่วไปนั้นเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบ ปกติ ในขณะที่ราคาของแล็ปท็อปจะสูงกว่า โดยส่วนที่จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปคือ จอภาพจะเป็นลักษณะจอแอลซีดี และจะมีทัชแพดที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของลูกศรบริเวณหน้าจอ
 
  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์
 
 
Ultrabook คือ รูปแบบ Notebook ที่คาดว่าจะเป็น notebook รูปแบบใหม่ในอนาคตนั่นเอง ซึ่งจุดเน้นก็คือ Ultrabook มีความบางเบามากเป็นพิเศษ  โดยใช้ SSD เป็นตัวเก็บข้อมูลทำให้โหลดและเซฟงานได้เร็วมาก โดยมาตฐานของอินเทลระบุความหนาไว้ที่ ไม่เกิน 21 มม. ต้องมีระยะเวลาของแบตเตอรี่อย่างน้อย 5-8 ชม.  ถ้าใช้โหมดแสตนบายจะต้องเปิดได้ภายในเวลา  2 วินาที และมีระบบความปลอดภัยดีเยี่ยม และราคาไม่เกิน 1,000 USD ซึ่ง Ultra book นั้นก็มีลักษณะคล้ายกับ  Macbook Air
  โดย Ultrabook นั้นสามารถทำได้ทุกอย่างที่ tablet ทำได้ (รวมถึงสัมผัสหน้าจอ) แต่ Ultrabook นั้นจะมีคีย์บอร์ดด้วย
Netbook ส่วนใหญ่จะมีสินค้าระดับล่างถึงกลาง ปัจจุบัน Ultrabook จะมาจับตลาดกลุ่มกลางและกลุ่มบน โดยมีสมรรถนะที่ดีกว่า netbook
โดยในอนาคตนั้น Intel คาดว่า 40% ของโน้ตบุ๊คที่วางจำหน่ายในปี 2012 จะเข้าข่าย Ultrabook
 
Ultrabook ที่ตอนนี้มีให้เห็นแล้วก็มี Asus UX21 ที่มีความบาง และมีหน้าจอขนาด 11.6 นิ้ว ทำงานด้วยโพรเซสเซอร์ Intel Core i5 และมีน้ำหนักเพียง 2.2 ปอนด์ (1 กิโลกรัม
 
ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็น ไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้ สะดวก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์